8 เทรนด์สุดฮิต การค้าออนไลน์ไทยยุคโควิด-19

การค้าออนไลน์ เป็นรูปแบบการค้ารูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการแพร่ระบาดโควิด -19 ที่ทำให้ตลาดสินค้าและบริการเปลี่ยนจากออฟไลน์ไปเป็นออนไลน์อย่างรวดเร็ว ในระยะที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้จัดโครการ Digital DNA อบรมการค้าออนไลน์ ปักธงความสำเร็จการค้าออนไลน์กับหลักสูตร Digital DNA for Business Transformation เตรียมความพร้อม ผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอไฮท์ไลท์ (key takeaway) จากกิจกรรมดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟัง โดยทำการสรุปเป็น 8 เทรนด์การค้าออนไลน์ไทยหลังยุค Covid-19 ดังนี้

1. Live Commerce and Shoppertainment

ปัจจุบัน influencer มีบทบาทเป็นอย่างมากในการเข้าไปช่วยแนะนำสินค้า สร้างเรื่องราวให้สินค้าน่าสนใจ รวมถึงการ รีวิวจากประสบการณ์ส่วนตัว ทำให้หลายคนที่ติดตาม influencer มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากขึ้น เช่น กรณี คุณบังฮาซัน และคุณพิมรี่พาย ที่มีผู้ติดตามหลักล้านคน หลายคนกดเข้าไปดูการ live เทคนิควิธีการเล่าเรื่อง เล่าถึงสินค้าของคุณบังฮาซัน เพราะเห็นว่ามีความบันเทิงน่าสนุกสนาน ทำให้เกิดการคล้อยตามแล้วกดซื้อสินค้าในที่สุด

Trend การค้าออนไลน์แบบ Live Commerce and Shoppertainment มีบทบาทเป็นอย่างมากในการเอา สินค้าที่คนสนใจเข้าไป matching กับผู้คน นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลชั้นดีว่าลูกค้ากำลังสนใจอยากซื้ออะไร สนใจเข้ามารับชมอะไร มีรสนิยมต่อสินค้า ราคา และโปรโมชั่นอย่างไร

Priceza ระบุว่าประเทศไทยเป็นผู้นำของการช้อปปิ้งผ่าน social media ไม่แพ้ชาติใด นอกจากนี้ข้อมูลของ facebook ที่ได้ทำการศึกษาว่าแต่ละประเทศมีแนวโน้มความสนใจในการใช้แพลต์ฟอร์ม social media ในการช้อปปิ้ง ออนไลน์มากมายขนาดไหน พลว่าประเทศไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก โดยนักช๊อป (shopper) คนไทยจำนวน 40% ยอมรับว่า เคยซื้อของผ่านทาง social media นี่คือพลังของ s ocial media ที่เราสามารถเข้าไปคุยได้ เข้าไป chat ได้ สามารถโอนเงิน รับและส่งสินค้าได้อย่างง่ายดาย

8 เทรนด์สุดฮิต การค้าออนไลน์ไทยยุคโควิด-19

ประเทศจีนเองก็เป็นอีกประเทศที่ Live commerce มีความนิยมเป็นอย่างมาก เกษตรกร ชาวสวน นิยมเปิดร้านค้าออนไลน์ ถ่ายรูปผลไม้และผลิตผลของเขาและทำการตกแต่งภาพ ทำให้รูปสวยขึ้น โดยใช้เพียงสมาร์ทโฟน (smart phone) จากนั้นก็ live เล่าเรื่องเกี่ยวกับสินค้า นำเสนอกรรมวิธีการปลูก การเก็บ รวมถึงรีวิวรสชาติ จากนั้นทำการเก็บ order ไปเรื่อย ๆ สร้างความบันเทิงให้ผู้ชม จนทำให้ยอดสั่งซื้อต่อวันมีมูลค่ามากกว่าการนั่งขายอยู่ที่เดิม ณ ตลาดสด และนี่คือพลังของความเรียบง่ายของ smart phone ที่สามารถสร้างโอกาสของ live commerce ได้เป็นอย่างดี

8 เทรนด์สุดฮิต การค้าออนไลน์ไทยยุคโควิด-19

2. Direct to Consumer (D2C) Commerce

รูปแบบการค้าแบบเดิม เจ้าของแบรนด์สินค้าทำการผลิตสินค้าจากนั้นจะส่งสินค้าไปยังช่องทางกระจายสินค้า (Distributors) ต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านขายปลีก และร้านขายส่ง จากนั้น ขายให้กับลูกค้า (end consumers) ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการค้าแบบใหม่เปลี่ยนมาเป็นแบบ Direct to Consumer มากขึ้น โดยเจ้าของแบรด์จะเข้าไปสร้างหน้าร้านออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเอง ผ่านแพลต์ฟอร์ม E-Market place ต่างๆ เช่น Lazada, Shopee, JD Central รวมถึงช่องทางเว็บไซต์ เช่น Tarad.com และทำกา รขายผ่านช่องทาง social media เอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Line Official, Instagram ซึ่งจะอาศัยศูนย์กระจาย สินค้าน้อยลง

ข้อดีของ Direct to consumer commerce คือแบรนด์สามารถสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค สามารถ เก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละคนได้ เช่น แชมพูแพนทีน จากบริษัท P&G ซึ่งปกติขายส่งให้กับ ร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าต่างๆ ข้อมูลที่บริษัทได้เป็นเพียงยอดขายตามช่องทางต่างๆ แค่นั้น แต่จะไม่รู้ว่า ขายแชมพูสูตรไหน ผู้บริโภคอยู่จังหวัดไหน สั่งซื้อบ่อยเพียงใด และปริมาณเท่าใด ด้วยการมาของ D2C จะช่วยให้ แบรนด์สามารถ รู้ถึงข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้น

8 เทรนด์สุดฮิต การค้าออนไลน์ไทยยุคโควิด-19

เพื่อพิจารณาหลักฐานเชิงประจักษ์จะเห็นได้ว่าภายในระยะเวลา 2 ปี จาก 2019 – 2020 มีร้านค้าลงทะเบียนขายของออนไลน์กับ LazMall และ ShoppeeMall เพิ่มจาก 3,400 ร้าน เป็น 5,000 ร้าน หรือเติบโตสูงถึง 46% และจำนวนสินค้าที่ขายออนไลน์ผ่าน 3 E-market place ยักษ์ใหญ่, Lazada (Alibaba) Shoppee (Tencent), JD Central ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2020 มีสินค้าวางขายมากถึง 230 ล้านชิ้นเลยทีเดียว

8 เทรนด์สุดฮิต การค้าออนไลน์ไทยยุคโควิด-19

3. Discovery-based Commerce (from people finds product to product finds people)

การค้าออนไลน์แบบ Discovery-based Commerce เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการค้นหาสินค้า จากเดิมที่ลูกค้าเป็นคน ค้นหาสิ่งที่ต้องการซื้อ (search-based) เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเป็นคนค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเอง (Discovery-based) เช่น เวลาที่ลูกค้าไปเดินห้างสรรพสินค้า ลูกค้าจะะเดินไปที่แผนกที่สนใจซื้อสินค้าและทำการเลือกค้นหาสินค้าที่ต้องการ แต่ในยุคของ Digital E-Commerce สินค้าจะค้นหาคนที่มีโอกาสจะซื้อสินค้าของแบรนด์สินค้าเอง โดยอาศัยเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล Social Media ขั้นสูง เช่น ดูจากประวัติการค้นหาใน Search Engine วิดีโอที่รับชม เสื้อผ้า รองเท้า แว่นตา นาฬิกา ที่นิยม ใส่ถ่ายภาพลง Social Media สถานที่ท่องเที่ยวที่ชอบไป อาหารที่ถ่ายภาพลงโซเชี่ยลบ่อยๆ เป็นต้น

อ่านฉบับเต็ม

DOWNLOAD